แผนหน่วยมะม่วง

แผนหน่วยมะม่วง (วันศุกร์)

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม 2554

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ก็สนุกสนานดีค่ะ  แต่เย็นมากๆ
       การเรียนการสอน 
       อาจารย์ทบทวนว่า คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยกับปฐมเหมือนกันหรือแตกต่างกัน  คือ
- เป็นตัวเลขเหมือนกัน
- ใช้ในชีวิตประจำวันเหมือนกัน
- ใช้คิดแก้ปัญหาเหมือนกัน
- ของปฐมวัยจะเป็นรูปธรรมแต่ของปฐมศึกษาจะเป็นนามธรรม
       แนวคิดนักการศึกษา
- ฟรอเบล์  เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  การลงมือปฏิบัติ
- มอนเตสซอรี่  ใช้การสัมผัส  เน้นประสาทสัมผัส
- เลินนิ่งบายดูอิ่ง  เด็กเป็นศูนย์กลาง  เรียนรู้ผ่านการกระทำ
- ฟรอยด์  วัยแต่ละวัยจะส่งผลต่อวัยต่อไป
- อิริคสัน  สิ่งแวดล้อมจะทำให้ประสบผลสำเร็จ
- สกินเนอร์  เสริมแรงทางบวก
- เดวิด  เอลคายน์  สอนให้เกิดประโยชน์
- ไฮสโคป  ใช้คำถามปลายเปิด
- จอห์น  ดิวอี้  เรียนรู้จากการกระทำ
       ลำดับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
1. การนับ
2. การรู้จักตัวเลข
3. การชั่ง  ตวง  วัด
4. รูปร่าง  รูปทรง
5. พื้นที่
6. การเพิ่มและลดจำนวน
7. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8. การเปรียบเทียบ
9. การจัดหมวดหมู่
10. การจำแนกประเภท
11. การเรียงลำดับ
12. เวลา
       ขอบข่ายคณิตสาสตร์
       1. การนับ  คือ  คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข  อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย  เช่น  การนับปากเปล่า  การนับสิ่งของจำนวน  การนับตั้งแต่  1–10  หรือมากกว่านั้น
       2. ตัวเลข  คือ  การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข  ให้เด็กได้นับและคิดเอง  โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม  ซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย  เช่น  มากกว่า  น้อยกว่า
       3. การจับคู่  คือ  การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ  ว่ามีความหมายแตกต่างกัน
       4. การจัดประเภท  คือ  ให้เด็กสังเกตความเหมือนความต่าง
       5. การเปรียบเทียบ  คือ  เด็กสามารถบอกได้ว่ายาวกว่า  หรือสั้นกว่า
       6. การจัดลำดับ  คือ จัดสิ่งของ  ชุด  ตามคำสั่งหรือกฏนั้นๆ
       7. รูปทรงและเนื้อที่  คือ  แยกรูปทรงต่างๆ  พื้นที่กว้าง  แคบ  ตามที่มองเห็น
       8. การวัด  คือ  ให้โอกาสเด็กได้วัดด้วยตนเอง  รู้จักการประมาณคร่าวๆ
       9. เซต  คือ  ง่ายๆ  จากสิ่งรอบตัว  มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม
       10. เศษส่วน  คือ  เน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน
       11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  คือ  การเลียนแบบที่ดีและทำตาม  เพื่อพัฒนาให้เด็กได้จดจำ
       12. การอนุรักษ์  คือ  เด็กสามารถบอกค่าคงที่ได้  แม้จะเปลี่ยนสิ่งบรรจุการตอบโดยใช้เหตุผล  ( ใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม  เช่น  เกมการศึกษา )
       การจัดประสบการณ์ต้องจัดอาศัยสาระการเรียนรู้  ( เนื้อหา )
       สาระการเรียนรู้
       1. สร้างหน่วยการเรียนรู้  ได้มาจากหลักสูตร  และใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของเด็ก  มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน
       2. แตกเนื้อหาเพื่อจัดกิจกรรม
       งานที่ได้รับมอบหมาย 
       - ให้จับกลุ่ม  กลุ่มละ  คน  คิดชื่อหน่วย  แล้วแตกเป็นแม็บนำมาจัดลงวัน  จากนั้นใส่ชื่อผู้รับผิดชอบของแต่ละวัน  ส่งวันที่  21/12/2554

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม 2554

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้สนุกสนาน  เฮฮาดีค่ะ  แต่ร้อนนิดหน่อย
       การเรียนการสอน 
       อาจารย์ให้ดูเลขที่และรหัสศึกษา  คือรหัสจะเรียงเป็นลำดับตัวเลข  เป็นการกำหนดเลข  และ  GPA  เป็นลำดับของการเรียนตามเกณฑ์  ทั้งหมดนี้จะเป็นคณิตศาสตร์
       สิ่งที่อยู่ในห้องเรียนที่เป็นคณิตศาสตร์  คือ
-  เวลาเข้าเรียน  เช่น  เวลาตัวต้นกับเวลาเข้าจริง  ซึ่งทำให้เปรียบเทียบเวลาที่รอการเดินทางจากตึก  4  มาตึกคณะ  คือช่วงเวลาของการก้าวเท้า
-  นาฬิกา  คือ  นาที  วินาที  และชั่วโมง
-  ลำดับที่  คือ  การเรียงลำดับ  ก่อนจะมาเป็นลำดับต้องมีการเปรียบเทียบก่อน
       สิ่งที่อยู่ในบ้านที่เป็นคณิตศาสตร์  เช่น  เครื่องคิดเลข  ไมโคเวฟ  เครื่องซักผ้า  โทรศัพท์  เงิน  นาฬิกา  ปฏิทิน  และบ้านเลขที่
       คณิตศาสตร์อนุบาลเหมือนหรือแตกต่างกับปฐมอย่างไร  เช่น
-  ใช้ตัวเลขเหมือนกัน
-  อนุบาลแทนตัวเลขด้วยสิ่งของแต่ประถมแทนตัวเลขด้วยสัญลักษณ์
       พัฒนาการ  คือ  การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางสติปัญญา  ปัญญาที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนแต่ละช่วงอายุ
       พัฒนาการของเด็ก  ( การทำงานของสมอง )
-  ช่วงอายุ  1–2  ขวบ  ( การรับรู้ )  เด็กจะเริ่มรับรู้เยอะ
-  ช่วงอายุ  2–4   ขวบ  ( ขั้นก่อนปฏิบัติการ )  เด็กเริ่มจะใช้คำศัพท์ได้เยอะขึ้นกว่าเดิม  เริ่มที่จะใช้เหตุผลได้บ้างแล้ว  เช่น  ครูเทน้ำใส่กระบอกยาวและกระบอกเตี้ยอย่างละ  1  แก้ว  เด็กจะตอบว่าน้ำกระบอกยาวสูงกว่ากระบกเตี้ย  เพราะเด็กตอบตามตาเห็น  เด็กจะมีเหตุผลแต่ยังไม่หมดทุกประการ
       ชื่อวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       1. การจัดประสบการณ์
-  กิจกรรม
-  เทคนิควิธี
-  รูปแบบการสอน
-  การจัดการชั้นเรียน
       2. คณิตศาสตร์
-  เครื่องมือคณิตศาสตร์
-  สาระการเรียนรู้
       3. เด็กปฐมวัย
-  พัฒนาการ
-  วิธีการเรียนรู้  คือ  ต้องเรียนรู้ผ่านการเล่น  จะทำให้เด็กมีประสบการณ์โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
       คณิคศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กมีช่วงใดบ้าง
-   ตอนตื่น  คือเวลาสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
-  ยืนเข้าแถวเรียงตามลำดับ
-  จับกลุ่มทำกิจกรรม
-  การออกกำลังกายเป็นชุด
-  การมาเรียน  คือ  เซ็นชื่อว่าใครมาถึงก่อนหลังตามลำดับ
-  การตรวจสุขภาพ  คือ  ชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง
-  การดื่มนม  คือ  จะเทนมมากหรือน้อยจะเกี่ยวข้องถึงเรื่องปริมาณ
-  การมาโรงเรียน
       วิธีการเรียนรู้
-   จัดการเรียนการสอนให้มีลักษณะโดยที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยการเล่น
-  จัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
       กิจกรรมในห้องเรียน 
       อาจารย์ให้จับคู่กัน  แล้วแจกแผนให้คู่ละ  เล่ม  เพื่อให้ดูว่าในแผนของเรามีกิจกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  แล้วเลือกมาตอบให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง  ตัวอย่างของเพื่อนๆ  เช่น
-   หน่วยไม้ดอกไม้ประดับ  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือการเรียงลำดับก่อนหลัง
-  หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือการนับปากเปล่า
-  หน่วยวันพ่อ  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือการเปรียบเทียบความยาว
-  หน่วยวันปีใหม่  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือความยาวและรูปทรง
-  หน่วยพลังงาน  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือเรื่องใกล้ไกลของพลังงาน
-  หน่วยฤดูร้อน  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือความสัมพันธ์ของจำนวนกับสัญลักษณ์
-  หน่วยนกน้อย  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือเรื่องพื้นฐานการบวก
-  หน่วยกลางวันกลางคืน  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือเรื่องเวลา
-  หน่วยอากาศ  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือรูปทรง  น้ำหนัก  และความเร็ว
-  หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือเรื่องอนุกรม

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่ 6 เดือนธันวาคม 2554

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  วันนี้เป็นครั้งแรกในการเรียนการสอน  รายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  บรรยากาศในวันนี้ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนานและตื่นเต้นค่ะ  อากาศไม่ร้อน  แต่เหนื่อยตรงที่ขึ้นบรรไดมาเรียนค่ะ

       การเรียนการสอน 
       อาจารย์พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์  ต้องจัดแบบบูรณาการผ่านกิจกรรม  การบูรณาการคือการนำเอาวิชามาผสมผสานกันหรือรวมกัน  บูรณาการจะมีด้วยกัน  2  แบบคือ  แบบเห็นตัว  และรวมตัว
       รูปแบบการสอนปฐมวัย

-  จัดแบบบูรณาการผ่านกิจกรรม
-  โปรเจคแอพโพรช
-  ไฮโคป
-  วอลดอร์ฟ
-  มอนเตสซอรี่
       หน่วยจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก
       งานที่ได้รับมอบหมาย 
-  มาตรฐานตัวชีวัดทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง  ( ไปสืบค้นมา )
-  กลับไปสร้างบล็อกให้เรียบร้อย
-  หานิทานคณิตศาสตร์คนละ  1  เรื่อง