แผนหน่วยมะม่วง

แผนหน่วยมะม่วง (วันศุกร์)

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 วันที่ 19 มีนาคม 2555

       ความรู้สึกเกี่ยวกับการสอบสอนแผน  หน่วยมะม่วง  (วันศุกร์) 

       วันนี้ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากมากในการสอบสอน  การสอนครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้มากมาย  ได้ฝึกพัฒนาตนเอง  ได้ข้อคิดข้อแนะนำจากอาจารย์ในส่วนที่ตัวเองสอนผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องไป  เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาต่อไป  และสิ่งที่สำคัญดิฉันยังได้เห็นเทคนิคและวิธีการสอนของเพื่อนๆ  ที่หลากหลาย  เพื่อที่จะนำไปเป็นแนวทางในในการสอนครั้งต่อไป
       สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์จ๋าที่ให้ข้อคิดคำแนะนำ  เรื่องการเขียนแผนและสอบสอนแผนในวันนี้มากคะ

       สื่อการสอน  หน่วยมะม่วง 



       ส่วนผสมของมะม่วงดอง 








วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 6 มีนาคม 2555

      สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ

       การเรียนการสอน 

- อาจารย์นัดสอบสอนวันอาทิตย์  ที่  11  เดือนมีนาคม  พ.. 2555  เวลา  13.00 – 16.30  .
- มารับข้อสอบวันที่สอบสอน  และกำหนดให้ส่งวันที่  16  เดือนมีนาคม  พ..  2555
- นัดตรวจบล็อกวันที่  22  เดือนมีนาคม  พ..  2555
       
       อาจารย์ให้ดูตัวอย่างแผนการสอน 
 
       Project  Approach 
       เรื่อง……รถยนต์
       กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
       - ด้านร่างกาย
>> ตัดภาพ  /  ตัดกระดาษ
>> ปั้นแป้ง
>> ประดิษฐ์รถจำลอง  (โมเดล)
>> ศิลปะร่วมมือ  ภาพเส้นทางจราจร
>> สร้างถนนจำลอง  (บล็อก)
>> พิมพ์ภาพ
>> เสก็ตภาพรถ
       - ด้านสังคม
>> ร้องและเต้นประกอบเพลง
>> เล่นบทบาทสมมุติ
>> จัดโชว์รูมขายรถ
>> สนุกกับการนั้งรถเล่น
>> ประดิษฐ์โมเดลรถร่วมกัน
       - ด้านอารมณ์ จิตใจ
>> ร้องและเต้นประกอบเพลง
>> สนุกสนานกับการฟังนิทาน
>> เล่นบทบาทสมมุติ
>> จัดโชว์รูมขายรถ
>> สนุกกับการนั่งรถเล่น
       - ด้านสติปัญญา
>> กิจกรรมสำรวจรถในโรงเรียน
>> กิจกรรมนับรถ  แยกประเภท
>> กิจกรรมทัศนศึกษา  ที่ศูนย์เบ๊นซ์ทองหล่อ
>> กิจกรรมสำรวจเครื่องยนต์
>> กิจกรรมสำรวจสีของรถ
       สิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์
- การเคลื่อนที่
- สิ่งที่อยู่รอบตัว
       สิ่งที่เป็นคณิตศาสตร์
- สัญลักษณ์
- สามเหลี่ยม
- วงกลม
- สี่เหลี่ยม
       ประสบการณ์เดิมของเด็กๆ
- เคยไปดูโชว์รถฮอนด้าที่คาร์ฟูร
- เคยเห็นรถแข็งในสนาม
- เจอรถสีเขียวที่ตลาด
- ผมไปจตุจักรไปซื้อสติกเกอร์รูปรถเก๋งสีขาว
       คำถามของเด็กๆ
- ทำไมรถมีเกียร์  (พี)
- ขับรถไปไหนได้บ้าง  (ทิซ่า)
- ทำไมรถเคลื่อนที่ได้  (แบ๊งก์)
- ทำไมต้องคาดเข็มขัดนิรภัย  (เจมส์)
- ทำไมรถจอดได้  (วุฒิ)
       ข่าวสารประจำหน่วย
- มีความรู้  และต้องไปปรากฏในกระบวนการจัดกิจกรรม  และสิ่งที่อยู่ในกิจกรรมต้องมีประสบการณ์สำคัญ
       ให้เด็กๆ  วาดภาพรถเก๋งที่ชอบ
       สนทนาและบันทึกคำตอบของลูก
- ถ้ารถเก๋งน้ำมันหมด  จะทำอย่างไร
- ส่วนประกอบของรถ  ส่วนใดทำให้ไฟหน้ารถติดสว่าง
- เด็กๆ  รู้จักรถยี่ห้อใดบ้าง
- ถ้าไม่มีทะเบียนรถ  จะเป็นอย่างไร
        แบบเตรียมการสอน
- ส่วนที่  ข้อมูลทั่วไป
- ส่วนที่  กิจกรรมตามตารางกิจวัตรประจำวัน
- ส่วนที่  สรุปเทคนิค  วิธีการจัดกิจกรรม  ฯลฯ  ที่ท่านเลือกใช้ในสัปดาห์นี้
- ส่วนที่  สรุปผลการปฏิบัติงานตามแบบเตรียมการสอน
- ส่วนที่  ภาคผนวก  (ระบุเฉพาะเพลงและคำคล้องจองที่เพิ่มจากหน่วยการเรียน

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากต้องไปศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเล่นกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย  ของอาจารย์เหมียว  ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านวาดฝัน  โดยอาจารย์บาสเป็นคนพาไป 

       ภาพกิจกรรมในห้องเรียน 




       ภาพกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง 




       มอบของที่ระลึก 



วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ

       การเรียนการสอน 

       อาจารย์ให้รวบรวมแผนเป็นกลุ่ม  แล้วไปพบอาจารย์ที่โต๊ะ  เพื่อที่อาจารย์จะได้ตรวจแผนและแนะนำส่วนที่ผิดหรือควรเสริมส่วนใดเข้าไปให้สมบูรณ์  เพื่อที่จะให้แผนมีความสอดคล้องกันทั้ง  วัน
       สิ่งที่อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับแผนของดิฉัน
- คำคล้องจองให้นำไปใส่ในภาคผนวก
- เพิ่มการสนทนาโดยคำถามก่อนเข้าสู่กิจกรรม
- เพิ่มการเปรียบเทียบมะม่วงที่เก็บไว้โดยไม่ได้ดองกับมะม่วงที่ผ่านการดองไว้แล้วว่าเป็นอย่างไร
- ขั้นสรุป  ให้สรุปโดยให้เด็กบอกขั้นตอนการทำมะม่วง  และท่องคำคล้องจองพร้อมกันอีกครั้ง
       เมื่อตรวจแผนเสร็จแล้ว  อาจารย์ให้ทุกกลุ่มเขียนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสอน  เพื่อที่จะมาทำสื่อ  โดยอาจารย์เป็นคนจัดหาให้

       แผ่น เรื่องมะม่าว (การถนอมอาหาร)  วันศุกร์ 




วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ

       การเรียนการสอน 

       อาจารย์ให้เข้ากลุ่มตามแผนของตนเอง  และชี้แจงว่าต้องมีแผนของเพื่อนในกลุ่มทุกคนเพื่อที่จะเก็บไว้ดูเป็นแนวทางต่อไป
       อาจารย์บอกถึงงานที่ต้องส่งในแผนกลุ่ม
1. มายแม็บรวมของกลุ่ม
2. มายแม็บหัวข้อย่อยๆ  ของกลุ่ม แตกเป็นด้าน  เช่น  อารมณ์ จิตใจ  สติปัญญา  กาย
3. มายแม็บของกลุ่ม    แตกเป็น  กิจกรรมหลัก
4. แผนเก่าของแต่ละคน
5. แผนใหม่ของแต่ละคน
       อาจารย์ให้ทุกกลุ่มบอกแผนของตนเองจนครบ  วัน  และมีคำแนะนำดังนี้
       ขั้นนำ
- นำโดยคำคล้องจอง  คือ  เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องสัมผัสที่ไพเราะ
- นำโดยจิ๊กซอ  คือ  เด็กจะได้ทำกิจกรรมผ่านการเล่น
- นำโดยนิทาน  คือ  จะทำให้เด็กจำได้ง่าย  และนิทานต้องไม่ยาวจนเกินไป
- นำโดยเพลง  คือ  เพลงจะทำให้เด็กสนุกสนานและจำได้ง่าย  ต้องเป็นเพลงที่ไม่ยาวจนเกินไป  ถ้ายาวจะทำให้เด็กจำไม่ได้
- เสร็จแล้วครูใช้คำสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหา  ในคำคล้องจอง  นิทาน  หรือเพลง
       ขั้นสอน
- สนทนาโดยใช้คำถามนำก่อนกิจกรรม
- ทำกิจกรรมโดยให้เด็กมีส่วนร่วม
       ขั้นสรุป
- สรุปโดยมายแม็บ
- สรุปเป็นตาราง
- สรุปโดยทวนขั้นตอนการทำกิจกรรม
_ สรุปโดย  ท่องคำคล้องจอง  หรือร้องเพลง  อีกครั้ง

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ
       
       การเรียนการสอน 

       วันนี้อาจารย์พูดถึงกิจกรรมกีฬาสี  ว่าสิ่งที่ต้องเตรียมมาของแต่ละสี  คือ
- กลอง
- โทราโข่ง
       อาจารย์พูดถึงการเขียนแผนแล้วสอน  ตัวอย่างหน่วยนม
       ขั้นนำ
- เริ่มต้นด้วยทักทาย  แล้วสงบเด็ก  คือทำให้เด็กสนใจ  เช่น  ให้เด็กปรบมือ  ครั้ง
- ท่องคำคล้องจอง
- เด็กๆ  ว่าในคำคล้องจองนมผลิตจากอะไรบ้าง
       ขั้นสอน
- ให้เด็กดูภาพดึงนมวัว  ดึงแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้น
- เด็กๆ  เห็นไม่ค่ะอันนี้คือนมอะไร  นำมาให้เด็กดู
- ทดลองให้เด็กชิม
- เด็กๆ  นับดูซิว่านมกี่แก้ว
- ให้เด็กไปหยิบเลขแล้วมาวางตามจำนวนแก้วนม
- คุณครูให้เด็กแยกกลุ่มนมจากพืชไปไว้ที่อื่น
       สอดคล้องกับคณิตศาสตร์  คือ
- การนับและบอกจำนวนพร้อมระบุตัวเลขอาราบิก
- การแยกประเภท

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 วันที่ 31 มกราคม 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ

       การเรียนการสอน 

       อาจารย์ให้ส่งงานที่มอบหมายไปในอาทิตย์ที่แล้ว

       ชิ้นงานของดิฉัน 



       คณิตศาสตร์  คือ
- คำศัพท์คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญ  อาจใช้คำว่า  ลำดับที่  ,  แรก
- คำศัพท์คณิตศาสตร์มีอยู่ในชีวิตจริง
       อาจารย์ให้มองงานที่ส่งไป  ( แล้วนึกถึงอะไร )
- ครอบครัว
- ผลงาน
- อาหาร
- สิ่งที่เกี่ยวกับเด็ก
- พฤติกรรมเด็ก
- พัฒนาการเด็ก
- กิจวัตรประจำวัน
- การเล่น
       >> การถามคำถามปรายเปิด  เช่น  มีอะไรบ้าง  เคยเห็นที่ไหนบ้าง
- เด็กจะได้ฝึกคิด  คือ  คิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  คิดเชิงคณิตศาสตร์ 
- กล้าแสดงออกอย่าอิสระ
- มีความเชื่อมั่น
       >> ที่ไหนบ้าง  คือ  เด็กจะได้รวบรวมประสบการณ์  ระยะทาง  ทิศทาง  ใช้เวลาเท่าไร
       >> ทำอย่างไร  คือ  เด็กจะต้องอธิบายว่าทำอย่างไร  มีลำดับขั้น
       >> กับใคร  คือ  ใครบ้าง  ไปกี่คน
       >> มีอะไรบ้าง  คือ  เด็กจะได้ฝึกคิดแล้วคิดว่ามีเท่าไร
       >> พบเห็นได้เมื่อไหร่  คือ  จะเกี่ยวข้องกับเวลา  ฤดูกาล
       >> ประสบการณ์ทางร่างกาย  คือ  สิ่งที่เด็กลงมือกระทำ
       >> ประสบการณ์ทางอารมณ์  /  จิตใจ  คือ  การแสดงออกทางอารมณ์  รับรู้อารมณ์ของตนเอง
       >> ประสบการณ์ทางสังคม  คือ  การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ช่วยเหลือและดูแลตนเอง
       >> ประสบการณ์ทางสติปัญญา  คือ  การคิดและภาษา
       ประสบการณ์สำคัญกับสาระที่ควรรู้
- หลักสูตร  คือ  แนวทางในการจัดประสบการณ์  ซึ่งประกอบไปด้วยประสบการณ์หลายๆ  ประสบการณ์  โดยครูวางแผนและเกิดขึ้นโดยที่เด็กอยากรู้กะทันหัน  โดยการให้เด็กลงมือกระทำ  เพื่องส่งเสริมพัฒนาการทั้ง  ด้าน
- การเรียนรู้  คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การรับรู้  คือ  รับมา  แล้วเก็บซึมซับไว้
- มาตรฐานการเรียนรู้  คือ  เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ทางด้านคณิตศาสตร์
       
       มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 


       สาระที่  1  :  จำนวนและการดำเนินการ
1.1 การเข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน  และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  คือการนับ
1.2 การอ่านตัวเลขอินดูอาราบิก  ,  เลขไทย
1.3 เปรียบเทียบ  จำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน  มากกว่าน้อยกว่า  มากที่สุดน้อยที่สุด
1.4 เรียงลำดับจำนวน
1.5 การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
- การรวม  คือ  การบวกหรือการเพิ่มขึ้น
- การแยก  คือ  ทำให้ลดลง

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 24 มกราคม 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ไม่ร้อนไม่หนาว  เหมาะแก่การเรียนมากค่ะ 

       การเรียนการสอน 

       วันนี้อาจารย์เข้าสอนเวลา  13.30  อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องไปสังเกตการสอนของแต่ละโรงเรียนว่ามีการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง  ในกิจกรรมนอกห้องเรียนและในห้องเรียน  และบอกว่าคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
       การสอนเรื่องหน่วยฝน
       ขั้นนำ
       - นำด้วยเพลง  เพื่อที่จะให้รู้ว่าจะเรียนเรื่องอะไร  แล้วคำนึงถึงความสนใจของเด็ก  ทำให้เด็กอยากจะเรียนรู้  อาจจะเป็นการร้องเพลงแล้วแตกเป็นมายแม็บ  มายแม็บนี้ก็จะกลายเป็นสื่อการเรียนการสอนได้
       - ใช้คำถาม  เช่น  เด็กๆจะดูแลตัวเองอย่างไรในฤดูฝน  คือ  ถามแล้วบันทึก  จะทำให้มีร่องรอยการเรียนการสอน
       - ใช้คำคล้องจอง
       ทักษะคณิตศาสตร์
       - เด็กหยิบอุปกรณ์มานับ  คณิตศาสตร์คือ  จำนวนเมื่อเกิดการนับ  หรือนับว่าของทั้งหมดมีจำนวนกี่อย่าง
       - การเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
       - การจัดกลุ่ม  เช่น  การจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นธรรมชาติ  ทำขึ้นเอง  หรือหาง่าย   ตัวอย่าง  อะไรที่หาได้ง่ายไม่ต้องซื้อ 
       อาจารย์พูดถึงการเรียนชดเชย   และบอกว่าแผนสามารถปรับเปลี่ยนได้  ให้วางแผนการสอนคนละ  10  นาที  กลุ่มหนึ่งจะใช้เวลา  50  นาที  ให้ไปทดลองสอนดูกันก่อนเพื่อที่จะได้ปรับปรุงตกแต่ง  ในแผนต้องมี  ขั้นตอน  คือ  ขั้นนำ  ขั้นสอน  ขั้นสรุป  ต้องเชื่อมโยงเกี่ยวกับการบูรณาการทางคณิตศาสตร์  และให้เอามาให้ดูอาทิตย์หน้า

       งานที่ได้รับมอบหมาย 

       1. พิมพ์ชื่อตัวเองพร้อมชื่อเล่น  ตัวอักษร  Angsana  New  ตัวหนา  ขนาดตัวหนังสือ  48  ความกว้าง  1.5  นิ้ว  ความยาว  4  นิ้ว  ( พิมพ์แล้วตัด  ติดในกระดาษแข็งสีขาว )
       2. ตัดกระดาษสีตามสีที่อาจารย์มอบหมายให้  ความกว้าง  นิ้ว  ความยาว  4  นิ้ว  ( ตัดกระดาษสีแล้วติดลงบนกระดาษแข็ง )
       3. พิมพ์ชื่อวันตามสีที่ตัวเองได้  ตัวอักษร  Angsana  New  ตัวหนา  ขนาดตัวหนังสือ  36  ความกว้าง  1  นิ้ว  ความยาว  1.5  ( พิมพ์แล้วตัด  ติดในกระดาษแข็งสีขาว )
       4. พิมพ์เลขที่ของตนเอง  ตัวอักษร  Angsana  New  ตัวหนา  ขนาดตัวหนังสือ  48  ความกว้าง  1  นิ้ว  ความยาว  นิ้ว  ( พิมพ์แล้วตัด  ติดในกระดาษแข็งสีขาว )

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 17 มกราคม 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากต้องไปศึกษาสังเกตการสอนที่โรงเรียนบางบัว  ( เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร )  ไปสังเกตในรายวิชาปฏิบัติการวิชาชีพครู  ( Practicum  1 )  เป็นเวลา  อาทิตย์  จากวันที่  5 – 19  เดือนมกราคม  พ..  2555


       รูปสังเกตการสอน 















วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 10 มกราคม 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากต้องไปศึกษาสังเกตการสอนที่โรงเรียนบางบัว  ( เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร )  ไปสังเกตในรายวิชาปฏิบัติการวิชาชีพครู  ( Practicum  1 )  เป็นเวลา  อาทิตย์  จากวันที่  5 – 19  เดือนมกราคม  พ..  2555

       
       รูปสังเกตการสอน 












วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 มกราคม 2555

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่










วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ธันวาคม 2554

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้หนาวมากๆ  ทำให้ง่วงนอนค่ะ

       การเรียนการสอน 
       
       อาจารย์พูดถึงการทำบล็อก  คำอธิบายบล็อก  ตรวจบล็อกของเพื่อนๆและของดิฉัน  อาจารย์ได้แนะนำว่า 
- ต้องมีชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ 
- ไม่ควรใช้สีสะท้อนแสงกับเด็ก
- มีภาพแสดงความรู้สึกได้
- หาข้อมูลเพิ่มเติมลิงค์เป็นเว็ปไซน์ได้ 
- การเขียนอนุทินควรมีหัวข้อและคำอธิบายด้วย
       ทักษะสำคัญในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ภาษา
- คณิตศาสตร์
       ประสบการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการ  มี  ด้าน
       1. ด้านร่างกาย  คือ  การเคลื่อนไหว  การออกกำลังกาย  การนอนหลับพักผ่อน
       2. ด้านอารมณ์ / จิตใจ  คือ  แสดงออกทางอารมณ์  การรับรู้อารมณ์ของเพื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการของเพื่อน  คุณธรรมจริยธรรม
       3. ด้านสังคม  คือ  การช่วยเหลือตนเอง  การอยู่ร่วมกัน  มีความรับผิดชอบ  มีความซื่อสัตว์  มีความจริงใจ
       4. ด้านสติปัญญา  คือ  การคิด 
- การคิดสร้างสรรค์
- การคิดเชิงเหตุผล  ประกอบด้วย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์

       ตัวอย่างเรื่องหน่วยนก 



       - นกมีหลายชนิด  แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน  เช่น  รูปร่าง  อ้วนผอม  พื้นผิว  เรียบนุ่ม  ขลุขละ  กลิ่นฉุน

       ตัวอย่างมายแม็บพัฒนาการทั้ง  ด้าน 





       งานที่ได้รับมอบหมาย 

- เขียนแผนตามวันที่ตนเองได้รับมอบหมาย