แผนหน่วยมะม่วง

แผนหน่วยมะม่วง (วันศุกร์)

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

สอบสอนหน่วยมะม่วง วันศุกร์

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม 2554

       สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะค่ะ  บรรยากาศในวันนี้ก็สนุกสนานดีค่ะ  แต่เย็นมากๆ
       การเรียนการสอน 
       อาจารย์ทบทวนว่า คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยกับปฐมเหมือนกันหรือแตกต่างกัน  คือ
- เป็นตัวเลขเหมือนกัน
- ใช้ในชีวิตประจำวันเหมือนกัน
- ใช้คิดแก้ปัญหาเหมือนกัน
- ของปฐมวัยจะเป็นรูปธรรมแต่ของปฐมศึกษาจะเป็นนามธรรม
       แนวคิดนักการศึกษา
- ฟรอเบล์  เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  การลงมือปฏิบัติ
- มอนเตสซอรี่  ใช้การสัมผัส  เน้นประสาทสัมผัส
- เลินนิ่งบายดูอิ่ง  เด็กเป็นศูนย์กลาง  เรียนรู้ผ่านการกระทำ
- ฟรอยด์  วัยแต่ละวัยจะส่งผลต่อวัยต่อไป
- อิริคสัน  สิ่งแวดล้อมจะทำให้ประสบผลสำเร็จ
- สกินเนอร์  เสริมแรงทางบวก
- เดวิด  เอลคายน์  สอนให้เกิดประโยชน์
- ไฮสโคป  ใช้คำถามปลายเปิด
- จอห์น  ดิวอี้  เรียนรู้จากการกระทำ
       ลำดับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
1. การนับ
2. การรู้จักตัวเลข
3. การชั่ง  ตวง  วัด
4. รูปร่าง  รูปทรง
5. พื้นที่
6. การเพิ่มและลดจำนวน
7. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8. การเปรียบเทียบ
9. การจัดหมวดหมู่
10. การจำแนกประเภท
11. การเรียงลำดับ
12. เวลา
       ขอบข่ายคณิตสาสตร์
       1. การนับ  คือ  คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข  อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย  เช่น  การนับปากเปล่า  การนับสิ่งของจำนวน  การนับตั้งแต่  1–10  หรือมากกว่านั้น
       2. ตัวเลข  คือ  การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข  ให้เด็กได้นับและคิดเอง  โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม  ซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย  เช่น  มากกว่า  น้อยกว่า
       3. การจับคู่  คือ  การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ  ว่ามีความหมายแตกต่างกัน
       4. การจัดประเภท  คือ  ให้เด็กสังเกตความเหมือนความต่าง
       5. การเปรียบเทียบ  คือ  เด็กสามารถบอกได้ว่ายาวกว่า  หรือสั้นกว่า
       6. การจัดลำดับ  คือ จัดสิ่งของ  ชุด  ตามคำสั่งหรือกฏนั้นๆ
       7. รูปทรงและเนื้อที่  คือ  แยกรูปทรงต่างๆ  พื้นที่กว้าง  แคบ  ตามที่มองเห็น
       8. การวัด  คือ  ให้โอกาสเด็กได้วัดด้วยตนเอง  รู้จักการประมาณคร่าวๆ
       9. เซต  คือ  ง่ายๆ  จากสิ่งรอบตัว  มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม
       10. เศษส่วน  คือ  เน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน
       11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  คือ  การเลียนแบบที่ดีและทำตาม  เพื่อพัฒนาให้เด็กได้จดจำ
       12. การอนุรักษ์  คือ  เด็กสามารถบอกค่าคงที่ได้  แม้จะเปลี่ยนสิ่งบรรจุการตอบโดยใช้เหตุผล  ( ใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม  เช่น  เกมการศึกษา )
       การจัดประสบการณ์ต้องจัดอาศัยสาระการเรียนรู้  ( เนื้อหา )
       สาระการเรียนรู้
       1. สร้างหน่วยการเรียนรู้  ได้มาจากหลักสูตร  และใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของเด็ก  มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน
       2. แตกเนื้อหาเพื่อจัดกิจกรรม
       งานที่ได้รับมอบหมาย 
       - ให้จับกลุ่ม  กลุ่มละ  คน  คิดชื่อหน่วย  แล้วแตกเป็นแม็บนำมาจัดลงวัน  จากนั้นใส่ชื่อผู้รับผิดชอบของแต่ละวัน  ส่งวันที่  21/12/2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น